เครื่องดนตรีที่ใช้กับมวยไทย

การใช้เสียงดนตรีเรียกได้ว่ามีอยู่แทบจะทุกวงการเลยก็ว่าได้ เช่น การบันเทิง การศึกษา การแพทย์ การกีฬา เป็นต้น ซึ่งแต่ละที่ก็มีจุดประสงค์ในการใช้เสียงดนตรีที่แตกต่างกันออกไป เช่น การศึกษา ก็จะใช้ดนตรีเพื่อช่วยเสริมสร้างทักษะความจำและการเรียนรู้ การบันเทิง ใช้เพื่อเป็นส่วนประกอบในการสื่ออารมณ์และสื่อความหมายต่างๆ การแพทย์ใช้เพื่อเป็นการทำกายภาพบำบัด การบริหารท่าทางต่างๆ เป็นต้น แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงดนตรีที่ใช้ในการกีฬาของไทยนั่นก็คือ ดนตรีที่ใช้กับมวยไทย การใช้ดนตรีในมวยไทย จะใช้เป็นเครื่องดนตรีไทย ที่ประกอบไปด้วย กลองแขก 2 ใบ ,ปี่ชวา 1 เลา และฉิ่ง 1 คู่ โดยเครื่องดนตรีเหล่านี้ที่กล่าวมามีชื่อเรียกว่า “วงปี่กลอง” ซึ่งการบรรรเลงเพลงในการแข่งขันจะมีทำนองกำนหดจังหวะช้าหรือเร็วตามการแข็งขัน โดยเฉพาะช่วงยกสุดท้ายของการแข่งขัน จะมีการเร่งจังหวะให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มความเร้าใจ และความตื่นเต้น ของนักมวย และผู้ชมการแข่งขัน วันนี้เราจะมาแนะนำเครื่องดนตรีไทยที่ใช้บรรเลงเพลงในการแข่งขันมวยไทยกัน

ซึ่งประกอบไปด้วย

1.กลองแขก กลองชนิดนี้ใช้บรรเลงเพลงในวงดนตรีไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทำด้วยไม้จริงหรือไม้แก่น มีรูปทรงเป็นทรงกระบอกยาวประมาณ 47 เซนติเมตร มี 2 หน้า โดยหน้าหนึ่งจะกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร และอีกหน้าจะกว้างประมาณ 17 เซนติเมตร

2.ปี่ชวา ทำด้วยไม้จริงหรืองา รูปร่างของปีชวาโดยรวมจะเหมือนกับปี่ไฉนทุกประการ แต่จะมีขนาดที่ยาวกว่าปี่ไฉน และตอนบนที่ใส่ลิ้นปี่ทำให้บานออกเล็กน้อยทำให้มีเสียงที่แตกต่างจากปี่ไฉน

3.ฉิ่ง ทำด้วยโลหะหล่อหนา รูปทรงคล้ายถ้วยชาไม่มีก้น โดยจะเจาะรูตรงการเพื่อร้อยเชือก เป็นเครื่องดนตรีที่ช่วยสร้างจังหวะ มีเสียงดังกังวาล ฉิ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ จะมีขนาดไม่เหมือนกับฉิ่งที่ใช้ในวงเครื่องสาย

บทความเเนะนำวันนี้